บทที่ 1 แนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศยุคใหม่
วิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน
รหัสวิชา 0026008
กลุ่มเรียนที่ 2
ชื่อนายเกรียงไกร หาศิริ รหัสประจำตัว 57010110506
CHIN
จงเติมในช่องว่างว่าข้อใดเป็นข้อมูล หรือสารสนเทศ
1.ข้อมูลหมายถึง
ตอบ.ข้อมูลหมายถึงข่าวสาร เอกสาร
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ในรูปแบบของตัวเลข ภาพ ตัวอักษร
และสัญลักษณ์ต่างๆ เช่นคะแนนสอบวิชาภาษาไทย จำนวนนักเรียนในห้อง
2.ข้อมูลปฐมภูมิคือ
ตอบ.ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Source) คือ
สารสนเทศที่ได้มาจากต้นแหล่งโดยตรง เป็นสารสนเทศทางวิชาการ ผลของการศึกษาค้นคว้า
วิจัย รายงาน การค้นพบทฤษฎีใหม่ ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
ซึ่งนำไปสู่การยอมรับเป็นทฤษฎีใหม่ที่เชื่อถือได้
สารสนเทศประเภทนี้มักจะถูกถ่ายทอดออกมาในลักษณะของสิ่งพิมพ์ เช่น วารสาร รายงานการวิจัย
รายงานการประชุมมและสัมมนาวิชาการ สิทธิบัตร เอกสารมาตรฐานต่าง ๆ ต้นฉบับตัวเขียน
จดหมายเหตุ วิทยานิพนธ์ และการถ่ายทอดทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น
วารสารอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
3.ข้อมูลทุติยภูมิคือ
ตอบ.ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Source)
คือ สารสนเทศที่มีการรวบรวม
เรียบเรียงขึ้นใหม่จากแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ มักจะอยู่ในรูปแบบการสรุป ย่อเรื่อง
จัดหมวดหมู่ ทำดรรชนีและสาระสังเขป
เพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงและสามารถใช้ข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ได้แก่
สื่ออ้างอิงประเภทต่าง ๆ วารสารที่มีการสรุปย่อและตีความ รวมถึงหนังสือ ตำรา
ที่รวบรวมเนื้อหาวิชาการในการเรียนการสอน สารานุกรม พจนานุกรม รายงานสถิติต่าง ๆ
ดรรชนีและสาระสังเขป
4.สารสนเทศหมาถึง
ตอบ.สารสนเทศ หรือสารนิเทศ (Information)
เป็นคำเดียวกันซึ่งสามารถให้ความหมายอย่างกว้างๆ ว่าหมายถึง ข้อมูล
ข่าวสาร ความรู้ เรื่องราว ข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
ขณะเดียวกันก็มีความหมายในเชิงลึกว่า หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ที่ผ่านการประมวลผล
ซึ่งมีความหมายและสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจในชีวิตประจำวัน หรือการทำงานนั้นๆ
5.จงอธิบายประเภทของสารสนเทศ
ตอบ.ประเภทของระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศจำแนกตามโครงสร้างองค์การ (Classification
by Organizational Structure)
การจำแนกประเภทนี้เป็นการจำแนกตามโครงสร้างขององค์การ
ตั้งแต่ระดับหน่วยงานย่อยระดับองค์การทั้งหมด และระดับระหว่างองค์การ
สารสนเทศของหน่วยงานย่อย (Departmental
information system)
หมายถึงระบบสารสนเทศที่ออกมาเพื่อใช้สำหรับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งขององค์การ
โดยแต่ละหน่วยงานอาจมีโปรแกรมประยุกต์ใช้งานใดงานหนึ่งของตนโดยเฉพาะ เช่น
ฝ่ายบุคลากรอาจจะมีโปรแกรมสำหรับการคัดเลือกบุคคลหรือติดตามผลการโยกย้ายงานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน
โดยโปรแกรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องของฝ่ายบุคลากรจะมีชื่อว่าระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์
(Human resources information systems)
ระบบสารสนเทศของทั้งองค์การ (Enterprise
information systems)
หมายถึงระบบสารสนเทศของหน่วยงานที่มีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่ทั้งหมดภายในองค์การ
หรืออีกนัยหนึ่งก็คือองค์การนั้นมีระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงทั้งองค์การ
ระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงระหว่างองค์การ (Interorganizational
information systems-IOS)
เป็นระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงกับองค์การอื่นๆ
ภายนอกตั้งแต่ 2 องค์การขึ้นไป เพื่อช่วยให้การติดต่อสื่อสาร
หรือการประสานงานร่วมมือมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการผ่านระบบ IOS จะช่วยทำให้การไหลของสารสนเทศระหว่างองค์การหรือทั้งซัพพลายเชน
(Supply chain) เป็นไปโดยอัตโนมัติ เพื่อใช้ในการวางแผน ออกแบบ
การพัฒนา การผลิต และการส่งสินค้าและบริการ
การจำแนกตามหน้าที่ขององค์การ (Classification
by Functional Area)
การจำแนกระบบสารสนเทศประเภทนี้จะเป็นการสนับสนุนการทำงานตาหน้าที่หรือการทำกิจกรรมต่างๆ
ขององค์การ (Turban et al.,2001) โดยทั่วไปองค์การมักใช้ระบบสารสนเทศในงานที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ต่างๆ
เช่น
· ระบบสารสนเทศด้านบัญชี (Accounting
information system)
· ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (Finance
information system)
· ระบบสารสนเทศด้านการผลิต (Manufacturing
information system)
· ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (Marketing
information system)
· ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human
resource management information system)
การจำแนกตามการให้การสนับสนุนของระบบสารสนเทศ (Classification
by Support Provided)
การจำแนกตามการให้การสนับสนุนของระบบสารสนเทศ
แบ่งเป็น 3 ประเภทย่อย คือ ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ (Transaction
Processing Systems) ระบบสารสนเทศแบบรายงานเพื่อการจัดการ (Management
Reporting Systems) และระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision
Support Systems)
ระบบสารสนเทศแบบรายงานเพื่อการจัดการ (Management
Reporting Systems)
เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการทำรายงานตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
และช่วยในการตัดสินใจที่มีลักษณะโครงสร้างชัดเจนและเป็นเรื่องที่ทราบล่วงหน้า
ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision
Support Systems)
เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยผู้บริหารตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
มีความยืดหยุ่นสูง และมีลักษณะโต้ตอบได้ (interactive) โดยอาจมีการใช้โมเดลการตัดสินใจ
หรือการใช้ฐานข้อมูลพิเศษช่วยในการตัดสินใจ
ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ(Transaction
Processing Systems -TPS)
เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ
เช่น การซื้อขายสินค้า การบันทึกจำนวนวัสดุคงคลัง
เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที
เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า
ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า
6.ข้อเท็จจริงของสิ่งต่างๆ
ที่อาจเป็นตัวเลขข้อความเสียงคือ
ตอบ.ข้อมูล
7.ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลเป็น
ตอบ.สารสนเทศ
8.ส่านสูงของเพื่อนที่ถามจากเพื่อนแต่ละคนเป็น
ตอบ.นางสาวรัตนาพร รัตนวงศ์ สูง160
นาย ปราโมทย์ เพ็งพารา สูง173
เป็นข้อมูลปฐมภูมิ
นาย ปราโมทย์ เพ็งพารา สูง173
เป็นข้อมูลปฐมภูมิ
9.ผลของการลงทะเบียนเป็น
ตอบ.ข้อมูลทุติยภูมิ
10.กราฟแสดงจำนวนนิสิตในห้องเรียนวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน
Section วันอังคารเป็น
ตอบ.ข้อมูลตติยภูมิ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น